วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จดหมายสมัครงาน

นางสาวมณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล
212 หมู่ 4 ต.สำโรง
อ.พระประแดง
 จ.สมุทรปราการ 10130

21 กุมภาพันธ์ 2556

เรื่อง ขอสมัครงานตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดจำหน่าย
เรียน ท่านผู้จัดการฝ่ายบุคคล
สิ่งที่แนบมาด้วย          1. ใบรับรองการศึกษา
                              2. เอกสารประวัติย่อ
                               3. รูปถ่ายจำนวน 2 ใบ   

        ดิฉันได้ทราบจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับบวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ว่าทางบริษัทแจมเมอร์ จำกัด เปิดรับสมัครพนักงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการออกแบบ จำนวน 1 ตำแหน่ง ดิฉันมีความยินดีอย่างยิ่งหากท่านจะกรุณาพิจารณาเลือกดิฉันไว้สำหรับตำแหน่งนี้ ประสบการณ์และประวัติการศึกษาของดิฉันที่ท่านอาจนำมาพิจารณาร่วมในการตัดสินใจมีดังนี้ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านออกแบบภายใน มหาลัยศิลปกร ปี 2555 เกรดเฉลี่ย 3.85  มี มีความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับดี ทั้งการฟัง, พูด, อ่าน และเขียน 
       หากท่านจะกรุณาให้ดิฉันได้ชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อซักถามต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ความสามารถของดิฉัน จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

                                                          ขอแสดงความนับถือ
                                                            (นางสาวมณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล)   
------------------------------------------------------

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุผลที่ชอบบทความของกลุ่มที่ 5

เหตุผลที่ชอบบทความ "ถนอมสายตา"

    เพราะ ทำให้เราได้รู้ถึงวิธีการถนอมสายตาซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญส่วนหนึ่งของร่างกายใช้สำหรับการมองเห็นและรับรู้สิ่งต่างๆเราจึงควรรักษาดวงตาของเราอย่างดีที่สุดซึ่งบทความนี้ก็ทำให้เราเข้าใจเรื่องของสายตาและวิธีการดูแลรักษามากขึ้น




ความสุขยิ่งกว่าการให้


ชายหนุ่มคนหนึ่งมีชีวิตที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ
หน้าตาหล่อเหลา มีการศึกษาสูง มีงานการที่มั่นคง มีความก้าวหน้า
ในอนาคต มีคนรักใคร่รอบข้าง เรียกว่าใครเห็นใครรู้เป็นต้องอิจฉา
วันหนึ่งชีวิตที่สมบูรณ์แบบของชายคนนี้ยิ่งสุดยอด สมบูรณ์แบบ
มากขึ้น เมื่อพี่ของเขายอมควักเงินก้อนโตซื้อรถสปอร์ตคนงามเป็น
ของขวัญให้กับน้องชาย…ไม่ต้องบอกว่าเจ้าตัวจะยินดีปรีดาแค่ไหน
เพราะรถสปอร์ตสุดหรูคันนี้ ชายหนุ่มนายนี้ฝันอยากได้
เป็นเจ้าของมาตลอดชีวิต
เมื่อความฝันเป็นจริง สิ่งที่ชายหนุ่มคิดทำอย่างแรกคือ
ขับเจ้ารถสปอร์ตตระเวนไปตามที่ต่างๆให้สมอยาก
ใจหนึ่งต้องการทดสอบแรงม้าที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องเครื่อง
ว่าจะมีเรี่ยวแรงเต็มกำลังแค่ไหน
อีกใจก็แน่นอนว่า ใครที่มีรถสวยแรงขนาดนี้คงไม่บ้าเก็บเอาไว้ดู
ตามลำพังที่โรงรถในบ้าน
ขับโฉบเฉี่ยวไปมาสักพัก ก็ถึงเวลาพักทั้งเครื่องและคน
ชายหนุ่มจัดแจงจอดรถข้างถนน………..
ระหว่างกำลังพักผ่อนอิริยาบถ เขาเห็นเด็กคนหนึ่งเดินลูบๆคลำๆ
รอบรถคันงามด้วยกิริยาท่าทีชื่นชอบรถสปอร์ตอย่างเห็นได้ชัด
ชายหนุ่มรู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของสิ่งที่หลายต่อหลายคนใฝ่ฝัน
เขาเดินยืดอกมาที่รถ พร้อมพูดจาทักทายเด็กคนนั้นด้วยน้ำเสียง
มั่นใจ ดั่งขุนศึกผู้ชนะสงคราม
“ระวังหน่อยน้อง เดี๋ยวเป็นรอย” เขาบอก
เด็กคนนั้นมองไปยังชายหนุ่มเจ้าของเสียง ก่อนจะพูดตอบ
“รถของพี่เหรอ สุดยอดจริงๆ”
“แน่นอน” เขาตอบ
“พี่ซื้อมาราคาเท่าไหร่” เด็กคนเดิมถาม
“คนอื่นอาจต้องควักสตางค์ซื้อเอง แต่พี่ไม่ต้อง เพราะพี่ชายพี่ซื้อให้ เป็นของขวัญ”
“โอ้โห! ดีจัง ผมอยาก….” เด็กคนเดิมพูดตะกุกตะกักชะงักในตอนท้าย
ชายหนุ่มคิดในใจว่า เด็กคนนี้คงไม่กล้าพูดต่อ
เพราะที่เด็กอยากจะพูดแต่ยั้งปากยั้งคำไว้นั้น คงต้องการบอกว่า
อิจฉาตัวเขาเอง อยากจะเป็นอย่างเขาบ้าง…
มีพี่ที่แสนดีซื้อรถสุดหรูให้เป็นของขวัญ…
แต่สิ่งที่ชายหนุ่มคิดกลับผิดถนัด
“โอ้โห ดีจัง ผมอยาก….เป็นอย่างพี่ชายของพี่จัง” เด็กคนนั้นพูด
“ผมจะได้ซื้อรถให้น้องชายผมนั่งบ้าง”
ชายหนุ่มถึงกับอึ้ง
ในสังคมทุกวันนี้ที่ใครๆ ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะรับ
หรือบางคนไม่ยอมรอ
ใช้กำลังความได้เปรียบแย่งชิงของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
แต่เด็กคนนี้กลับคิดสวนทางใครๆ …เขาอยากเป็นผู้ให้
มากกว่าเป็นผู้รับ…
ชายหนุ่มมองเด็กด้วยความรู้สึกทึ่งและพูดออกมาทันทีว่า
“อยากนั่งรถเล่นกับฉันไหม”
“ครับ อยากมากเลย”
หลังจากขับรถเล่นอยู่พักหนึ่ง เด็กชายหันมาพูดด้วยดวงตาวาวแวว
“คุณจะกรุณาขับรถไปหน้าบ้านผมได้ไหมครับ”
ชายหนุ่มยิ้มน้อยๆ เขาคิดว่าเขารู้ดีว่าเด็กหนุ่มต้องการอะไร
เขาคงต้องการให้เพื่อนบ้านเห็นว่าเขาได้นั่งรถคันโตกลับบ้าน ……
แต่ชายหนุ่มคิดผิดอีกแล้ว ……
“คุณจอดตรงบันไดนั่นล่ะครับ” เขาวิ่งขึ้นบันได
จากนั้นสักครู่จึงกลับมา………แต่เขาไม่ได้วิ่ง
เขาอุ้มน้องตัวเล็กๆที่ขาพิการมาด้วย และวางน้องลงที่บันไดล่าง
กอดไว้และชี้ไปที่รถ
“นั่นไง บัดดี้ รถคันที่พี่เล่าให้ฟังพี่ชายของเขาซื้อให้เป็นของขวัญ
เขาไม่ต้องเสียตังค์เลย
สักวันหนึ่งพี่จะซื้อให้น้องบ้าง น้องจะได้ดูของสวยๆงามๆด้วยตา
ของน้องเองเหมือนที่พี่เคยเล่าให้ฟัง”
ชายหนุ่มลงจากรถ แล้วอุ้มเด็กน้อยขึ้นรถ
พี่ชายปีนตามขึ้นมานั่งใกล้
และแล้วทั้งสามก็เริ่มออกเดินทาง ชายหนุ่มรู้แล้วว่า
“ความสุขยิ่งกว่าการให้” หมายถึงอะไร ………..

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คิดอย่างไรไม่ให้เครียด(บทความที่สนใจ)

    เครียด เป็นภาระที่ทุกคนไม่อยากประสบพบพาน แต่คงไม่มีใครที่ไม่เคยเครียด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับความเครียด และวิธีการคิดเพื่อที่จะได้ไม่เครียดกันดีกว่า
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดจากการตื่นตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่เกิดกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์และส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจตามไปด้วย
ความเครียดนั้นมีกันทุกคน แต่ละมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาการคิดการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าคิดว่าปัญหาไม่ร้ายแรงแก้ไขได้โดยง่าย ก็จะไม่เครียด แต่ถ้าหากว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ ร้ายแรง แก้ไขลำบาก ก็จะทำให้เครียดมาก หากว่ามีความเครียดในระดับที่พอดี ๆ ก็จะช่วยให้มีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสูงชีวิต ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งนี่เองคือข้อดีของความเครียด ไม่ใช่ว่าเครียดจะไม่มีส่วนดี ๆ เอาเสียเลย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมี 2 ประการคือ

1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต  เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล่วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เกิดความเครียดได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
จากสาเหตุที่สำคัญนี้ ความเครียดจะไม่เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกันคือ มีสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นตัวกระตุ้น แล้วมีความคิดและการประเมินสถานการณ์เป็นตัวบ่งว่าจะเครียดมากเครียดน้อย เพียงใด
เมื่อปัญหากระตุ้นให้เกิดความเครียด การลดความเครียดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งวิธีคิดที่เหมาะสมได้แก่
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาจริงเอาจัง เข้มงวดจับผิด หรือตัดสินถูกผิดตัวเอง หรือผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ผ่อนสั้น ผ่อนยาว ลดทิฐิมานะและที่สำคัญควรรู้จักการให้อภัยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น และมีความเครียดน้อยลง
2. คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่าย ๆ ไม่ด่วยสรุปอะไรง่าย ๆ ให้พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเป็นไปได้ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกเอาง่าย ๆ แล้ว ยังสามารถตัดความกังวลใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปได้อีกด้วย
3. คิดหลาย ๆ แง่มุม มองหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านดีและไม่ดี พึงระลึกไว้เสมอว่า ทุกอย่างมีข้อดีและข้อไม่ดีประกอบกันทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ และที่สำคัญ ควรหัดคิดหัดมองในมุมของคนอื่นด้วย อย่างที่เขาเรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะช่วยให้เรามองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดี ๆ เพราะหากว่าเราคิดแต่เรื่องร้าย ๆ เรื่องความล้มเหลวผิดหวังหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ ก็จะทำให้เครียดมากขึ้น ควรคิดถึงเรื่องดี ๆ ให้มาก ๆ นอกจากไม่ทำให้เครียดแล้วยังทำให้สบายใจมากขึ้นด้วย
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้างรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปของคนอื่นและคนใกล้ชิด ใส่ใจที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้อื่นในสังคม บางครั้งจะพบว่า ปัญหาหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบ กับปัญหาของผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแบบนี้จะทำให้เครียดน้อยลง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าสามารถช่วยให้ผู้อื่นแก้ไขปัญหาได้ ก็จะทำให้สุขใจมากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเดียว 

เหตุผลที่เลือก 
  เพราะปกติเป็นคนคิดมากวิตกกังวนได้ง่ายทะเลาะกับน้องบ่อยและเคยทำแบบทดสอบที่ดรงเรียนแล้วมีผลประเมินว่ามีปัญหาทางด้านนี้และจะเกิดอาการปวดหัวอยู่เป็นประจำจึงอยากทราบถึงสาเหตุของความเครียดและแนวทางแก้ปัญหาเมื่อได้อ่านบทความนี้ก็ทำให้ได้แนวคิดหลายๆเรื่องมีประโยชน์มากคะ

ที่มาของบทความ:  http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=46

วิเคราะห์และประเมินค่าทุกข์ของชาวนาในบทกวี


๑.ตัวละคร
จากตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรม ได้เปิดเผยให้ผู้อ่านเห็นความคิดจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน ทั้งที่เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป และทั้งที่แตกต่างและมีปฏิกิริยาต่อคนอื่น
๒.ฉาก
จากการสร้างฉากในวรรณกรรม โดยเฉพาะเมื่อผู้เขียนวาดภาพความเป็นไปในโลกซึ่งมีแต่ความกดดัน จะทำให้ผู้อ่านได้แลเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของชีวิต ผู้เขียนจะเลือกคัดจัดประเภทของประสบการณ์มาแยกแยะพิจารณาในวรรณกรรมของเขาเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาสนำประสบการณ์ของตนเองมาเทียบเคียงร่วมพิจารณาด้วย
๓.กลวิธีการแต่ง
                 กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ

          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
หรือผู้อ่านได้อ่านวรรณกรรมเรื่องสามก๊กและราชาธิราช จะให้รู้จักกลยุทรในการสงคราม กลอุบายต่าง ๆ เล่ห์เหลี่ยม นิสัยใจคอของคน และความคิดอันปราดเปรื่องของตัวละครบางตัว พร้อมกันนี้วรรณกรรมแทบทุกเรื่องจะแทรกสัจธรรมที่ผู้อ่านสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำให้จิตใจสูงขึ้น หรือนำมาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น คำโคลงโลกนิติ ของกรมพระยาเดชาดิศร หรือเพลงยาวถวายโอวาท และสัวสดิศึกษา ของสุนทรภู่ เป็นต้น ดังคำกล่าวของเจตนา นาควัชระ (2529 : 88) กล่าวว่า หน้าที่ทางสังคมของวรรณกรรม อาจจะมิใช่การแก้ปัญหาทางสังคมในเชิงปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ในระยะสั้น แต่เป็นหน้าที่ของการให้แสงสว่างทางปัญญา
เข้าใจด้วย ผู้อ่านก็จะเกิดความรื่นรมย์และชื่นชมหรือแปลกประหลาดไปกับวัฒนธรรมนั้น ๆ ด้วย

๔.ทัศนะกวี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชดำริของพระองค์ผ่านตัวละครต่างๆ  ผู้อ่านต้องแยกให้ออกว่าเป็นทัศนะเรื่องใด  ผ่านตัวละครตัวใด  เช่น  ทรงให้ประพันธ์แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องประเพณีการคลุมถุงชน  การแต่งงานกับผู้หญิงต่างชาติ  การมีภรรยาหลายคน เป็นต้น  แต่ทัศนะที่ทรงนำเสนอผ่านประพันธ์ก็หาใช่พระราชดำริของพระองค์เสียทั้งหมด เช่น  ทัศนะของประพันธ์ต่อการเต้นรำ  ที่ประพันธ์มองว่าดีตรงว่าดีตรงที่ได้กอดผู้หญิงนั้นเป็นทัศนะของคนหนุ่มที่ขาดประสบการณ์ ไม่สุขุม จึงมองสังคมและวัฒนธรรมอย่างฉาบฉวยและไม่ได้เข้าถึงวัฒนธรรมของต่างชาติอย่างแท้จริง

๕.แนวคิดในการแต่ง


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือ ประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ  ดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน  แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก  พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า  คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกเกินไป  จนละเลยความเป็นไทย  ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
ดังนั้นแก่นเรื่องหรือแนวคิดสำคัญ  คือ  การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน



๖.คุุุณค่าทางปัญญา  
วรรณกรรมแทบทุกเรื่องผู้อ่านจะได้รับความคิด ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย มีผลให้สติปัญญาแตกฉานทั้งทางด้านวิทยาการ ความรู้รอบตัว ความรู้เท่าทันคน ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องให้ข้อคิดต่อผู้อ่านขยายทัศนคติให้กว้างขึ้น บางครั้งก็ทำให้ทัศนคติที่เคยผิดพลาดกลับกลายเป็นถูกต้อง เช่น เราเคยมีทัศนคติว่าคนยิวเป็นคนตระหนี่ เห็นแก่ตัว พาให้สังคมรังเกียจ ครั้นได้อ่านเรื่อง The Diary of a Young Girl แต่งโดย แอนน์ แฟร้งค์ (Anne Frank) (แปลเป็นภาษาไทย ชื่อ บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ โดยสังวรณ์ ไกรฤกษ์) หรือเรื่อง Child of the Holocaust แต่งโดย แจ็ค คูเปอร์ (Jack Kuper) (แปลเป็นภาษาไทย ชื่อ เสือกเกิดเป็นยิว โดยจำเนียร สิทธิดำรงค์) และเรื่อง Mon Ami Frederic แต่งโดย ฮันส์ ปีเตอร์ ไรช์เตอร์ (แปลเป็นภาษาไทยชื่อเฟรดคอริก เพื่อนรัก โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ) เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดโดยเด็กชาวยิว เมื่ออ่านแล้วเกิดความรู้สึกสงสารคนยิวที่กำลังถูกตามฆ่า ต้องพยายามหาทางเอาชีวิตรอด เกิดความรักและสงสารคนยิวในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทัศนคติเดิมที่มีต่อยิวก็เปลี่ยนแปลงไป

คุณค่าทางวัฒนธรรม 
วรรณกรรมทำหน้าที่ผู้สืบต่อวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นสายใยเชื่อมโยงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ในวรรณกรรมมักจะบ่งบอกคติของคนในชาติไว้ เช่น วรรณกรรมสมัยสุโขทัยจะทำให้เราทราบว่าคติของคนไทยสมัยสุโขทัยนิยมการทำบุญให้ทาน การสาปแช่งคนบาปคนผิด มักจะสาปแช่งมิให้พระสงฆ์รับบิณฑบาตรจากบุคคลผู้นั้น ดังนี้เป็นต้น วรรณกรรมของชาติมักจะเล่าถึงประเพณีนิยม คติชีวิต การใช้ถ้อยคำภาษา การดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เป็นต้น เพื่อให้คนรุ่นหลังมีความรู้เกี่ยวกับคนรุ่นก่อนๆและเข้าใจวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน เข้าใจเหตุผลว่าทำไมคนรุ่นก่อนๆจึงคิดเช่นนั้น ทำเช่นนั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ดังเช่น วรรณกรรมเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น หรือ เรื่องขุนช้างขุนแผน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจประเพณีการเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน การเผาศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณค่าทางวัฒนธรรมนี้เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละสังคม ถ้าสามารถสร้างให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสากล คือมีอุดมคติเป็นกลาง สามารถเป็นที่ยึดถือของทุกสังคม ก็นับเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ถือเป็นความสามารถอย่างยิ่ง และที่สำคัญวัฒนธรรมอยู่ได้ส่วนหนึ่งก็เพราะมีวรรณกรรมบันทึกไว้เป็นหลักฐาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะโดยรู้สึกตนหรือไม่ก็ตาม นักประพันธ์ย่อมจะแต่งเรื่องที่กล่าวถึงวัฒนธรรมของตน ( และอาจจะของผู้อื่นด้วย ) และในบางครั้งบางคราว เมื่อแปลหรือเรียบเรียงหรือเอาเค้าเดิมมาจากวรรณกรรมต่างประเทศ ก็จะกล่าวถึงวัฒนธรรมของต่างประเทศเท่าที่ตนรู้และ
 ๗.คุณค่าด้านความรู้
                นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกายว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้หญิง  เริ่มไว้ผมยาว  ค่อยๆ เลิกนุ่งโจงกระเบน  เริ่มหันมานุ่งผ้าซิ่นซึ่งการนุ่งผ้าซิ่นนับว่าเป็นแฟชั่นหรือวัฒนธรรมการแต่งกายของสังคมไทยแบบใหม่ที่หันมานิยมตามแบบตะวันตก  สำหรับหญิงไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก  และจะเริ่มจากสังคมขั้นสูงก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์


ภาระงานที่ 1 เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์
(๑) อวเสนา จ พาลานํ ปณํฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอึดมดี
       การคบคนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง เริ่มตั้งแต่การหลีกเลี่ยงจากคนพาล การสมาคมกับคนดี และการมีสัมมาคารวะต่อบุคลที่เคารพ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากการที่เราคบคนเช่นใด โอกาสที่จะทำให้เรากลายเป็นคนเช่นนั้นหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน และนอกจากการรู้จักเลือกคบคนแล้ว การมีสัมมาคารวะหรือการรู้จักเคารพต่อบุคคลที่ควรบูชาเคารพ ย่อมทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป และยังได้รับความเมตตาหรือคำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย
(๓) พาหุสจฺจญฺ สิปฺปญฺจ       วินโย จ สุสิกฺขิโต
             สุภาสิตา จ ยา วาจา         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
             ความได้สดับมาก            และกำหนดสุวาที
             อีกศิลปะศาสตร์มี            จะประกอบมนุญการ
             อีกหนึ่งวินัยอัน              นรเรียนและเชี่ยวชาญ
             อีกคำเพราะบรรสาน           ฤดิแห่งประชาชน
             ทั้งสี่ประการล้วน             จะประสิทธิ์มนุญผล
             ข้อนี้แหละมงคล             อดิเรกอุดมดี
     มงคลนี้สอนให้รู้จักที่จะรับฟังความคิดความเห็นหรือความรู้ให้มากๆ   มีความชำนาญในวิชาชีพของตน มีความเป็นระเบียบวินัย และรู้จักใช้คำพูดหรือวาจาให้เป็นผลดี
(๗) คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตญฺญุตา
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์
อีหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง
อีกรู้คณาของ นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

        สำหรับมงคลในข้ออื่นๆ เป็นข้อแนะนำที่สอดคล้องไปตามวัยและวุฒิภาวะ ตั้งแต่การปฏิบัติตนที่เป็นมงคลเมื่อยู่ในช่วงวัยเรียน เมื่อมีหน้าที่การทำงาน เมื่อมีครอบครัว เรื่อยไปจนถึงวัยที่ควรละจาการกิจกรรมทั้งหลาย เพื่อแสวงหาสัจธรรมในบั้นปลายของชีวิต จนสุดท้ายสามารถละกิเลสอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงเพื่อมุ่งสู่ความสุขที่แท้จริง


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง
                     เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง หากนึกถึงคำคำนี้หลายคนคงต้องนึกถึง ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทยเราอย่างแน่นอน โดยการให้เสียงของประชาชนเป็นใหญ่ ในระบอบประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง ประชาชนทุกคนมีอิสระเสรีโดยอยู่ในกฎหมาย ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนโดยตรงหรือผ่านผู้แทนที่ตนเลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการแสดงความยินยอมและเจตนาของตน แต่ปัจจุบันมีการขัดแย้งกันมากขึ้น โดยไม่มีความเห็นใจบุคคลอื่นที่ต้องเดือดร้อนและได้รับผลกระทบไปด้วยมุ่งเห็นแต่ฝ่ายของตนเองเป็นสำคัญไม่นึกถึงส่วนรวมทำให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมาก แล้วเราจะพูดได้หรือ? ว่าเสียงส่วนมาก คือ ความถูกต้อง หากยังมีบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ยังมีคนอีกมากที่ใช้เสียงใช้สิทธิ์ของตนอย่างไม่ถูกต้องไม่เต็มที่โดยอาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นได้
                 เสียงข้างมากมิใช่เสียงสวรรค์เสมอไป ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องเสียงข้างมาก เมื่อคนเราเท่ากันอำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข” นี่คือคำกล่าวของ   เกษียร เตชะพีระ    ในเชิงแนวคิดทฤษฎี เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในทางเศรษฐศาสตร์มานานแล้วว่า มีข้อผิดพลาดและบกพร่องเป็นอย่างมากที่จะรวมเอาความชอบหรือพึงพอใจส่วนบุคคลมาเป็นความชอบหรือพึงพอใจของสังคมแล้วอ้างว่าเป็น ประชามติดังนั้นการอ้างเอาเสียงข้างมากมาเป็นเรื่องเดียวกับประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องที่ผิดฝาผิดตัว
                ตัวเลขเสียงข้างมากจากหีบเลือกตั้งจึงไม่สามารถบอกได้ว่ารัฐบาลจะมีความชอบธรรมที่จะทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงเอาไว้หรืออะไรก็ได้จากเสียงข้างมากที่เลือก ส.ส.มาแต่อย่างใด   ระหว่างรถคันแรก จำนำข้าว ค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน มีนโยบายอะไรบ้างที่ถูกนำเสนอมาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแสดงความพึงพอใจโดยเลือกเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าจะทำหรือไม่และหากทำจะนำนโยบายใดมาทำก่อนหลังในการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา เห็นมีแต่นโยบายที่ไม่ได้หาเสียงเอาไว้ เช่น การล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือการล้างผิดให้ทักษิณเท่านั้นที่มีลำดับความสำคัญในลำดับแรกเหนือกว่านโยบายอื่นๆ ถึงขนาดขยายสมัยประชุมโดยไม่มีกำหนดปิด แต่ที่ไม่นำมาหาเสียงอย่างเป็นทางการและทำอย่างปกปิดซ่อนเร้นก็เพราะเกรงว่าจะไม่ได้เสียงข้างมากมาอยู่กับฝ่ายตัวใช่หรือไม่  
      ดังนั้นหากไม่นำเอานโยบายมาลำดับความสำคัญทีละคู่ให้ประชาชนเลือก เสียงสวรรค์ข้างมากจากหีบบัตรเลือกตั้งก็ไม่เกิด