วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์และประเมินค่าทุกข์ของชาวนาในบทกวี


๑.ตัวละคร
จากตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรม ได้เปิดเผยให้ผู้อ่านเห็นความคิดจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน ทั้งที่เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป และทั้งที่แตกต่างและมีปฏิกิริยาต่อคนอื่น
๒.ฉาก
จากการสร้างฉากในวรรณกรรม โดยเฉพาะเมื่อผู้เขียนวาดภาพความเป็นไปในโลกซึ่งมีแต่ความกดดัน จะทำให้ผู้อ่านได้แลเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของชีวิต ผู้เขียนจะเลือกคัดจัดประเภทของประสบการณ์มาแยกแยะพิจารณาในวรรณกรรมของเขาเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาสนำประสบการณ์ของตนเองมาเทียบเคียงร่วมพิจารณาด้วย
๓.กลวิธีการแต่ง
                 กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ

          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
หรือผู้อ่านได้อ่านวรรณกรรมเรื่องสามก๊กและราชาธิราช จะให้รู้จักกลยุทรในการสงคราม กลอุบายต่าง ๆ เล่ห์เหลี่ยม นิสัยใจคอของคน และความคิดอันปราดเปรื่องของตัวละครบางตัว พร้อมกันนี้วรรณกรรมแทบทุกเรื่องจะแทรกสัจธรรมที่ผู้อ่านสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำให้จิตใจสูงขึ้น หรือนำมาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น คำโคลงโลกนิติ ของกรมพระยาเดชาดิศร หรือเพลงยาวถวายโอวาท และสัวสดิศึกษา ของสุนทรภู่ เป็นต้น ดังคำกล่าวของเจตนา นาควัชระ (2529 : 88) กล่าวว่า หน้าที่ทางสังคมของวรรณกรรม อาจจะมิใช่การแก้ปัญหาทางสังคมในเชิงปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ในระยะสั้น แต่เป็นหน้าที่ของการให้แสงสว่างทางปัญญา
เข้าใจด้วย ผู้อ่านก็จะเกิดความรื่นรมย์และชื่นชมหรือแปลกประหลาดไปกับวัฒนธรรมนั้น ๆ ด้วย

๔.ทัศนะกวี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชดำริของพระองค์ผ่านตัวละครต่างๆ  ผู้อ่านต้องแยกให้ออกว่าเป็นทัศนะเรื่องใด  ผ่านตัวละครตัวใด  เช่น  ทรงให้ประพันธ์แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องประเพณีการคลุมถุงชน  การแต่งงานกับผู้หญิงต่างชาติ  การมีภรรยาหลายคน เป็นต้น  แต่ทัศนะที่ทรงนำเสนอผ่านประพันธ์ก็หาใช่พระราชดำริของพระองค์เสียทั้งหมด เช่น  ทัศนะของประพันธ์ต่อการเต้นรำ  ที่ประพันธ์มองว่าดีตรงว่าดีตรงที่ได้กอดผู้หญิงนั้นเป็นทัศนะของคนหนุ่มที่ขาดประสบการณ์ ไม่สุขุม จึงมองสังคมและวัฒนธรรมอย่างฉาบฉวยและไม่ได้เข้าถึงวัฒนธรรมของต่างชาติอย่างแท้จริง

๕.แนวคิดในการแต่ง


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือ ประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ  ดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน  แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก  พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า  คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกเกินไป  จนละเลยความเป็นไทย  ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
ดังนั้นแก่นเรื่องหรือแนวคิดสำคัญ  คือ  การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน



๖.คุุุณค่าทางปัญญา  
วรรณกรรมแทบทุกเรื่องผู้อ่านจะได้รับความคิด ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย มีผลให้สติปัญญาแตกฉานทั้งทางด้านวิทยาการ ความรู้รอบตัว ความรู้เท่าทันคน ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องให้ข้อคิดต่อผู้อ่านขยายทัศนคติให้กว้างขึ้น บางครั้งก็ทำให้ทัศนคติที่เคยผิดพลาดกลับกลายเป็นถูกต้อง เช่น เราเคยมีทัศนคติว่าคนยิวเป็นคนตระหนี่ เห็นแก่ตัว พาให้สังคมรังเกียจ ครั้นได้อ่านเรื่อง The Diary of a Young Girl แต่งโดย แอนน์ แฟร้งค์ (Anne Frank) (แปลเป็นภาษาไทย ชื่อ บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ โดยสังวรณ์ ไกรฤกษ์) หรือเรื่อง Child of the Holocaust แต่งโดย แจ็ค คูเปอร์ (Jack Kuper) (แปลเป็นภาษาไทย ชื่อ เสือกเกิดเป็นยิว โดยจำเนียร สิทธิดำรงค์) และเรื่อง Mon Ami Frederic แต่งโดย ฮันส์ ปีเตอร์ ไรช์เตอร์ (แปลเป็นภาษาไทยชื่อเฟรดคอริก เพื่อนรัก โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ) เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดโดยเด็กชาวยิว เมื่ออ่านแล้วเกิดความรู้สึกสงสารคนยิวที่กำลังถูกตามฆ่า ต้องพยายามหาทางเอาชีวิตรอด เกิดความรักและสงสารคนยิวในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทัศนคติเดิมที่มีต่อยิวก็เปลี่ยนแปลงไป

คุณค่าทางวัฒนธรรม 
วรรณกรรมทำหน้าที่ผู้สืบต่อวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นสายใยเชื่อมโยงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ในวรรณกรรมมักจะบ่งบอกคติของคนในชาติไว้ เช่น วรรณกรรมสมัยสุโขทัยจะทำให้เราทราบว่าคติของคนไทยสมัยสุโขทัยนิยมการทำบุญให้ทาน การสาปแช่งคนบาปคนผิด มักจะสาปแช่งมิให้พระสงฆ์รับบิณฑบาตรจากบุคคลผู้นั้น ดังนี้เป็นต้น วรรณกรรมของชาติมักจะเล่าถึงประเพณีนิยม คติชีวิต การใช้ถ้อยคำภาษา การดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เป็นต้น เพื่อให้คนรุ่นหลังมีความรู้เกี่ยวกับคนรุ่นก่อนๆและเข้าใจวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน เข้าใจเหตุผลว่าทำไมคนรุ่นก่อนๆจึงคิดเช่นนั้น ทำเช่นนั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ดังเช่น วรรณกรรมเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น หรือ เรื่องขุนช้างขุนแผน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจประเพณีการเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน การเผาศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณค่าทางวัฒนธรรมนี้เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละสังคม ถ้าสามารถสร้างให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสากล คือมีอุดมคติเป็นกลาง สามารถเป็นที่ยึดถือของทุกสังคม ก็นับเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ถือเป็นความสามารถอย่างยิ่ง และที่สำคัญวัฒนธรรมอยู่ได้ส่วนหนึ่งก็เพราะมีวรรณกรรมบันทึกไว้เป็นหลักฐาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะโดยรู้สึกตนหรือไม่ก็ตาม นักประพันธ์ย่อมจะแต่งเรื่องที่กล่าวถึงวัฒนธรรมของตน ( และอาจจะของผู้อื่นด้วย ) และในบางครั้งบางคราว เมื่อแปลหรือเรียบเรียงหรือเอาเค้าเดิมมาจากวรรณกรรมต่างประเทศ ก็จะกล่าวถึงวัฒนธรรมของต่างประเทศเท่าที่ตนรู้และ
 ๗.คุณค่าด้านความรู้
                นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกายว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้หญิง  เริ่มไว้ผมยาว  ค่อยๆ เลิกนุ่งโจงกระเบน  เริ่มหันมานุ่งผ้าซิ่นซึ่งการนุ่งผ้าซิ่นนับว่าเป็นแฟชั่นหรือวัฒนธรรมการแต่งกายของสังคมไทยแบบใหม่ที่หันมานิยมตามแบบตะวันตก  สำหรับหญิงไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก  และจะเริ่มจากสังคมขั้นสูงก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น